วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560

สรุป 7 เทรนด์ E-Commerce 2018


1. คนไทยซื้อของออนไลน์มากขึ้น หลากหลาย Channel
เห็นได้จาก SME ที่บูมมากไม่ว่าจะขายทางเฟซบุ๊ก ไอจี หรือสั่งอาหารผ่านบริการเดลิเวอรี่ทั้งหลาย รวมถึงเทรนด์ของเฟซบุ๊กกรุ๊ปเฉพาะพื้นที่เน้นขายเฉพาะสินค้าและอาหารก็กำลังเกิดเป็นช่องทางใหม่ในขณะนี้ เช่น คนที่อยู่แถวอุดมสุข เปิดเฟซบุ๊กกรุ๊ปเฉพาะคนในพื้นที่ พ่อค้าแม่ค้าสามารถนำเสนอขายของตนเองได้ ผู้บริโภคก็สามารถโพสต์หาสินค้าหรืออาหารที่ต้องการได้เช่นกัน เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีการขายไปตามพฤติกรรมผู้บริโภคของธุรกิจ SME ได้เป็นอย่างดี
2. การขายแบบ C2C
การติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น จะมีการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสอง เป็นการที่ผู้บริโภคซื้อขายกันเอง ผนวกกับการจ่ายเงินผ่านมือถือที่สะดวกก็จะยิ่งง่ายมากขึ้น แต่ก็เป็นผลดีในแง่ทำให้ผู้บริโภคคุ้นเคยรูปแบบการใช้จ่ายแบบใหม่ ต่อไปผู้ค้ารายย่อยจะเพิ่มจำนวนขึ้น โดย 1 คน มีมากกว่า 1 อาชีพ อาจทำงานออฟฟิศไปด้วย ขายของออนไลน์ไปด้วย
3. การแข่งขันดุเดือด
เมื่อ SME ขายของได้ง่ายขึ้นก็จะเกิดการแข่งขันตามมา ซึ่งปีหน้าคาดว่าจะดุเดือดมากกว่าปีนี้ สินค้าในมาเก็ตเพลสจะเพิ่มขึ้นมหาศาล โดยทางช้อปปี้บอกว่า ปัจจุบันมีสินค้าในระบบ 7 ล้านชิ้น ปีหน้าเชื่อว่าจะขยายเพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่า หรือราวๆ 20 ล้านชิ้นเลยทีเดียว เกิดจากผู้ประกอบการจะนำสินค้าเจ้าสู่ออนไลน์มากขึ้นนั่นเอง
4. ผู้บริโภคจะยึดติดกับส่วนลด
เมื่อการแข่งขันกันเองของผู้ขาย โปรโมชั่นจะเป็นตัวการหนึ่งที่จะช่วยดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทั้งคนไทยมีความชื่นชอบของราคาถูก ทำให้ยึดติดก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้าที่มีส่วนลด โปรโมชั่น  และโค๊ดส่วนลด ที่จะพร้อมจ่ายเมื่อเห็นว่าราคาปรับลดลง ซึ่งเรื่องลดราคาถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการทำตลาดออนไลน์
5. ทำการตลาดที่ครีเอทีฟมากขึ้น
รายเล็กอย่าไปแข่งกับรายใหญ่ เพราะรายใหญ่จะมีทุนเรื่องโฆษณามากกว่า ให้แข่งกับตลาดเล็กและเป็นตัวใหญ่ในตลาดนั้น จำเป็นต้องทำการตลาดที่แตกต่างไม่ซ้ำคู่แข่ง เช่น ใช้เฟซบุ๊กโปรโมทสินค้า และให้มาซื้อช่องทางออฟไลน์ เพื่อไม่ให้รายใหญ่เห็นพฤติกรรมการซื้อ เพราะบางทีรายใหญ่มักจะดูสินค้าที่ได้รับความนิยมจากรายเล็ก และไปใช้โปรโมชั่นเพื่อแย่งลูกค้าไป ดังนั้นการทำตลาดจึงมีความครีเอทีฟมากขึ้น เพื่อรักษาฐานลูกค้าของตนไว้
6. การซื้อขายแบบ Omni Channel
เมื่อจุดเริ่มต้นการช้อปปิ้งไม่ได้อยู่แค่ที่ห้างอีกต่อไป ปรากฏตัวตามช่องทางต่างๆ หน้าร้านจึงต้องหาวิธีคุยกับลูกค้าในสไตล์ของตนเอง รูปแบบการนำเสนอและการซื้อขายจะเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ เพราะปัจจุบันไม่ได้ขายเฉพาะตัวสินค้า แต่เป็นการขายประสบการณ์ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งยังมีกลุ่มผู้บริโภคก็มักดูสินค้าทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อ และเลือกซื้อทางออฟไลน์ ดังนั้น แบรนด์จะต้องใช้จุดนี้ดึงลูกค้ามายังหน้าร้าน
7. ช่องทางไหนง่ายสุด ลูกค้าเลือกช่องทางนั้น
เมื่อเริ่มคุ้นเคยกับการใช้จ่ายมากแล้ว ลูกค้าจะเลือกใช้บริการช่องทางที่เข้าถึงง่าย ซื้อง่าย และส่งถึงมือ แบรนด์อาจจะสร้างแพล็ตฟอร์มของตนเองและใส่สินค้าลงไป หรือจะมองหามาเก็ตเพลสที่เหมาะกับสินค้าของตน แต่อย่าไปทุกช่องทาง ให้ดูที่กำลังและจำนวนสินค้าด้วย เพราะหากมีการสั่งซื้อจำนวนมากจากหลากหลายช่องทาง แต่สต็อคสินค้าไม่พอที่จะจัดส่ง ก็อาจจะขาดความน่าเชื่อถือได้
สรุป
จะเห็นจากช่วง 5 ปีทีผ่านมาการช้อปปิ้งมีหลายหลายช่องทางให้ผู้บริโภคได้เลือก โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ ถึงกระนั้นสินค้าบางประเภทก็ใช่ว่าจะเหมาะกับช่องทางออนไลน์ สิ่งที่ควรคำนึงเบื้องต้นในเรื่องของคุณภาพของสินค้า เรื่องราคาที่เหมาะสม และประสบการณ์ของผู้บริโภค หากสามารถตอบสนองทั้ง 3 ด้านได้ ไม่ว่าช่องทางไหนก็ขายสินค้าได้แน่นอน

























 Credit :digitalagemag.com
ลงทะเบียนฟรี!!! เพื่อเข้าร่วมสัมมนาพิเศษ สร้างธุรกิจด้วย Global Dropship
ลงทะเบียนฟรี!!! เพื่อทดลองใช้ระบบช่วยการตลาดออนไลน์แห่งอนาคต



ติดต่อผม : ศิวกร  พันธ์บุญ
โทร : 0982485790
LineID : siwakorn-p
Facebook Fanpage: https://www.facebook.com/siwakorn.mdcsystem

สนใจร่วมธุรกิจกับผม >>> www.system-mdc.com/siwakorn
ติดตามเรื่องราวดีๆจากผมแบบอินเทรนด์ผ่าน Line ID :  @mdc- siwakorn
เพิ่มเพื่อน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น