วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560

Google เผย 5 เทรนด์การตลาดออนไลน์ ที่คนขายของออนไลน์ต้องรีบรู้ก่อนปี 2018

เทรนด์ที่ 1 ช่องว่างระหว่างโลกออนไลน์กับออฟไลน์จะหายไป

การทำงานของแบรนด์โดยเฉพาะในแผนกการตลาดนั้น ยังคงถูกแบ่งแยกเป็นคนละฝ่ายกันระหว่าง การตลาดออฟไลน์และการตลาดออนไลน์ ซึ่งทั้งที่จริงแล้ว ควรจะเป็นแผนกเดียวกัน มีทิศทางและกลยุทธ์ร่วมกัน แต่ประเทสไทยกำลังอยู่ในช่วงระหว่างการถ่ายโอนที่แต่เดิมทุ่มงบการตลาดไปที่ Traditional Marketing หรือการตลาดแบบดั้งเดิมซึ่งได้แก่ ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ซึ่งในปัจจุบันหลาย ๆ แบรนด์ได้เทงบมาฝั่งของการตลาดออนไลน์มากยิ่งขึ้น หากวัดมูลค่าโดยรวมแล้วงบการตลาดด้าน Digital Marketing ก็แซงหน้าไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่หลายแบรนด์จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับ ยุค Omni-Channels ซึ่งจำเป็นต้องผูกโลกออนไลน์และโลกออฟไลน์เข้าไว้ด้วยกัน ทั้งด้านฐานข้อมูลของลูกค้า การจัดการภายในองค์กร การจัดคลังสินค้า รวมไปร้านค้าออนไลน์แบบ E-commerce ที่จะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ที่มีใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบก้าวกระโดด โดย ณ ปัจจุบัน มีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตกว่า 42 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของประชากรทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จะใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนเป็นหลัก

สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ

แบรนด์จำเป็นจะต้องปรับโครงสร้างและวางกลยุทธ์ด้านการตลาดใหม่ และเข้าใจว่า Digital Marketing ไม่ใช่โลกของ Niche Market หรือตลาดเฉพาะทางอีกต่อไป เพราะมีผู้คนใช้งานอินเตอร์เกินกว่าครึ่งประเทศ และกำลังมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย
ให้ความสำคัญกับ Consumer Journey หรือการเดินทางของผู้บริโภคที่สลับเปลี่ยนกันไปมาระหว่างโลกออฟไลน์กับโลกออนไลน์ โดยแบรนด์ของคุณจำเป็นที่จะต้องหากลยุทธ์ที่เหมาะสมกับช่วงเวลาการเดินทางของผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคในแต่ละขั้นตอนจากคนแปลกหน้ากว่าจะมาเป็นลูกค้านั้น ย่อมต้องการข้อมูลและเนื้อหาที่แตกต่างกัน จำเป็นที่จะต้องหาวิธีการที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและมีประสทิธิภาพมากที่สุด
เอเจนซี่ที่ทำการตลาดด้านเดียว ไม่ว่าจะเป็น Digital Agencyอย่างเดียวหรือ Traditional Agency อย่างเดียว จะทำงานได้ลำบากมากขึ้น เพราะไม่สามารถตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น Agency จะต้องปรับตัวและหา Partner ให้ครบองค์ทั้งโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้ตอบโจทย์ Consumer Jorney ได้อย่างตรงจุด

เทรนด์ที่ 2 เจ้าของแบรนด์จะต้องทบทวนกลยุทธ์การทำเว็บบนอุปกรณ์มือถืออีกครั้ง

เรากำลังอยู่ในยุคของสมาร์ทโฟน ซึ่งแบรนด์ส่วนใหญ่ก็มักจะมีโปรไฟล์ออนไลน์ไว้ซับพอร์ทสมาร์ทโฟนกันอยู่แล้ว สิ่งที่น่าสนใจก็คือตลาดสมาร์ทโฟนได้เข้าถึงประชากรในประเทศไทยแล้วกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมียอดจำหน่ายอยู่ที่ประมาณ 15 ล้านเครื่องในทุก ๆ ปี และมีผู้เข้าชม Youtube ผ่านสมาร์ทโฟนสูงถึงร้อยละ 65 ของคนที่เล่น Youtube ทั้งหมด นับว่าตัวเลขได้แซงหน้าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วอย่างขาดลอย และนอกจากนั้นการค้นหาข้อมูลบน Search Engine กว่าครึ่งนั้นมาจากสมาร์ทโฟน
หลายแบรนด์ในประเทศไทยมักนิยมเข้าหาผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนด้วยแอพลิเคชั่น แต่จากสถิติการใช้งานแล้วพบว่า มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนโหลดแอพพลิเคชั่นโดยเฉลี่ยคนละ 32 แอพฯ และในแต่ละวันพวกเขาใช้แอพเพียงร้อยละ 24 ของทั้งหมดที่มีอยู่ในเครื่อง หรือใช้เพียง 7 แอพต่อวันเท่านั้นเอง และนอกจากนั้นคนไทยมักจะดาวน์โหลดแอพฯ ใหม่ ๆ เฉลี่ยเดือนละ 4 แอพฯ และแน่นอนว่ามีการลบแอพฯ เฉลี่ยเดือนละ 3 แอพฯ อีกด้วย
ในขณะที่ความไม่แน่นอนในการใช้แอพลิเคชั่นของผู้บริโภค ทำให้หลายแบรนด์ตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะมีแอพฯ เพียงอย่างเดียว ซึ่งนอกจากจะใช้งบประมาณในการพัฒนาแอพฯ สูงแล้ว ประสิทธิภาพหรือผลลัพธ์ที่ได้รับกลับคืนมายังมีแนวโน้มลดลงอีกด้วย ดังนั้น การทำเว็บไซต์เพื่อซับพอร์ทอุปกรณ์มือถือนั้น จึงกลายเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ของนักการตลาดในปัจจุบัน

สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ

แบรนด์ไทยจะต้องคิดทบทวนใหม่เรื่องของกลยุทธ์ที่จะใช้ในอุปกรณ์มือถือ และศึกษาว่าผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มนั้น มีความต้องการอะไรบ้างที่ขาดไม่ได้ ซึ่งการพัฒนา Mobile Web จะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมกับกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ รวมไปถึงการเรียกให้ลูกค้าเก่ากลับมาเยี่ยมเยียนแบรนด์อีกครั้ง
แอพฯ พื้นฐานที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนจะยังคงรักษาความจงรักภักดีเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอพลิเคชั่นประเภทการชำระเงิน

เทรนด์ที่ 3 การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการศึกษาพฤติกรรมของลูกค้ารายบุคคล

ในช่วงเวลานี้คุณคงได้ยินเกี่ยวกับเรื่องของปัญญาประดิษฐ์หรือเกี่ยวกับการใช้งานหุ่นยนต์มาแทนที่มนุษย์มากยิ่งขึ้น ซึ่งความสมบูรณ์แบบของเครื่องจักรที่คิดได้เองนั้น อาจจะไม่เกิดขึ้นในเร็ววันนี้ แต่มันก็เริ่มต้นขึ้นแล้ว เพราะหุ่นยนต์ไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อยในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เพื่อนำมาประมวลผลและคิดได้เอง
จริง ๆ แล้ว เราเริ่มคุยกับหุ่นยนต์ในชีวิตประจำวันอยู่บ้างแล้ว อาทิเช่น Siri ที่สามารถโต้ตอบกับมนุษย์ได้ รวมไปถึงหลาย ๆ เว็บไซต์ ใช้หุ้นยนต์ในการโต้ตอบคำถามหรือพูดคุยกับผู้ใช้งานเว็บไซต์อีกด้วย ดังนั้นสิ่งที่ตามมาก็คือ ผู้คนก็จะเริ่มมีความคาดหวังที่สูงขึ้น เมื่อได้คุยกับหุ่นยนต์ และต้องการได้รับประสบการณ์ที่เป็นส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น

สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ

ลูกค้าจะคาดหวังจากประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ได้จากแบรนด์ แม้เพียงเรื่องแค่น้อยนิด ก็ส่งผลกระทบได้อย่างมหาศาล ซึ่งมันไม่ได้หมายถึงแค่รู้จักชื่อเสียงเรียงนาม แต่มันคือการที่รู้จักแบบเป็นส่วนตัวเลยทีเดียว

เทรนด์ที่ 4 การชำระเงินแบบดิจิตอลจะเข้าถึงทุกช่องทางในการค้าขาย

ในการค้าขายออนไลน์ก่อนหน้านี้ เราอาจจะนึกถึงความปลอดภัยในการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต แต่ในขณะที่ปัจจุบันการโอนเงินสดนั้นกลับมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยมากกว่าซะอีก เพราะสามารถถูกมิจฉาชีพหลอกลวงได้ง่าย แต่ในขณะที่การชำระเงินผ่านบัตรนั้น มีระบบรักษาความปลอดภัยที่สูงมากยิ่งขึ้น และสามารถติดตั้งระบบรับชำระเงินไว้บนเว็บไซต์ได้ โดยยากต่อการที่มิจฉาชีพจะปลอมแปลงได้ ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้จ่ายออนไลน์ผ่านบัตรเครดิตเพียง 5.7 เปอร์เซ็นต์ของการซื้อของออนไลน์เท่านั้น
โดยตอนนี้ทั้งประเทศก็ได้เริ่มต้นแล้ว ด้วยการเริ่มต้นที่การสร้างระบบ Promt Pay ที่จะรวมทุก ๆ การชำระเงินเข้าไว้ในที่เดียว แต่ตอนนี้ทาง SCB ก็ได้เริ่มรุกหนักแล้ว ด้วยการที่กดเงินจากตู้บัตรเอทีเอมโดยไม่ต้องมีบัตร หรือขึ้นวินมอเตอร์ไซต์ไม่ต้องพกเงินสด พกแค่มือถือเพื่อชำระเงินผ่าน QR Code ได้ในทันที
จะเห็นได้ว่าเงินดิจิตอลนั้น จะเริ่มแพร่หลายไปในทุก ๆ ช่องทาง เพื่อลดการใช้เงินสด ซึ่งเทรนด์นี้ทางประเทศจีนก็ได้ริเริ่มและประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการใช้เงินดิจิตอลแทนเงินสดจริง ๆ

สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ

ข้อจำกัดในการชำระเงินจะถูกพังทลายลง หลาย ๆ ธุรกิจที่ไม่สามารถเข้าสู่โลกออนไลน์ได้ เนื่องมาจากติดปัญหาด้านการชำระเงิน ดังนั้นเมื่อกำแพงด้านการชำระเงินทลายลง มันก็ง่ายที่จะนำธุรกิจออฟไลน์เข้าสู่โลกออนไลน์
สำหรับธุรกิจแบบ E-commerce จะขยายธุรกิจผ่านเว็บไซต์ที่เป็นเสมือนโชว์รูมแสดงสินค้าของธุรกิจ โดยสามารถให้ผู้บริโภคค้นหาสินค้า ทดลองสินค้าและซื้อสินค้าได้อย่างสะดวกสบา

เทรนด์ที่ 5 แบรนด์จะแข็งแกร่งขึ้นด้วยการวัดผลในสิ่งที่สำคัญมากกว่าตัวแปรเดิม

หากคุณทำ Digital Marketing อยู่แล้ว คุณมักจะพบกับตัววัดผลที่สำคัญ ๆ และคุ้นหูเป็นอย่างดี เช่น click through rate, conversion rate, Impression, reach, cost per click เป็นต้น จะดีกว่าไหมถ้ามีตัวผลวัดที่ชื่อว่า “impact measurement” ซึ่งสามารถวิเคราะห์ผลที่เกิดจากแคมเปญว่าส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากน้อยแค่ไหน
ซึ่งแน่นอนว่าผู้ให้บริการลงโฆษณาก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตเราจะได้เห็นว่า มันสามารถติดตามผู้บริโภคได้ทั้งในโลกออฟไลน์และโลกออนไลน์ได้ในเวลาเดียวกัน อย่างตอนนี้ Walmart ก็ได้จดลิิิขสิทธิ์เกี่ยวกับการติดตามผู้บริโภคภายในบ้านเอาไว้แล้ว ซึ่งเจ้าตัวติดตามนี้ สามารถรู้ได้ว่า มีอะไรวางอยู่ตรงส่วนไหนของบ้านบ้าง มีการเปิดทีวีตอนกี่โมง ยาสีฟันตอนนี้เหลือครึ่งหลอด ก็สามารถตรวจสอบได้ และนำโฆษณาที่เหมาะสมขึ้นแสดงต่อผู้บริโภค และนอกจากนั้น Facebook ยังยอมรับอีกด้วยว่า มีเทคโนโลยีที่ดักฟังเสียงจากสมาร์ทโฟน เพื่อนำมาประมวลผลในการแสดงโฆษณาหน้าฟีดข่าวของผู้บริโภคอีกด้วย

สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ

นักการตลาดจะไม่พอใจกับเครื่องมือการวัดผลแบบผิวเผินอีกต่อไป แต่ต้องการเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในวิเคราะห์เชิงลึกและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้แคมเปญออกมามีประสิทธิภาพสูงสุด
นักวิจัยข้อมูลจะมีความสำคัญและมีบทบาทมากยิ่งขึ้น เพื่อจะพัฒนาให้เครื่องมือสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแคมเปญการตลาด โดยช่วยให้นักการตลาดวิเคราะห์ข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
และนี่คือ 5 เทรนด์การตลาดออนไลน์ที่ทาง Google ต้องการบอกต่อผู้ประกอบการทุกคน และคุณจำเป็นต้องรู้เพื่อสามารถปรับตัวและเติบโตอย่างแข็งแกร่งบนโลกออนไลน์ในปี 2018 นี้ครับ และขอขอบคุณข่าวสารข้อมูลดี ๆ จากทาง Google และเว็บไซต์ Think with Google อีกครั้งครับ
Credit : Think with Google 

ลงทะเบียนฟรี!!! เพื่อเข้าร่วมสัมมนาพิเศษ สร้างธุรกิจด้วย Global Dropship
ลงทะเบียนฟรี!!! เพื่อทดลองใช้ระบบช่วยการตลาดออนไลน์แห่งอนาคต



ติดต่อผม : ศิวกร  พันธ์บุญ
โทร : 0982485790
LineID : siwakorn-p
Facebook Fanpage: https://www.facebook.com/siwakorn.mdcsystem

สนใจร่วมธุรกิจกับผม >>> www.system-mdc.com/siwakorn
ติดตามเรื่องราวดีๆจากผมแบบอินเทรนด์ผ่าน Line ID :  @mdc- siwakorn
เพิ่มเพื่อน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น